ราชยาน คันที่ 1 รถม้าพระที่นั่งเก๋ง Royal Coach

ราชยาน คันที่ 1
รถม้าพระที่นั่งเก๋ง Royal Coach

รถม้าพระที่นั่ง คือรถเทียมม้าสําหรับการเสด็จพระราชดําเนินของพระมหากษัตริย์ในพระราชพิธีต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ยังไม่มีรถยนต์ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 รถม้าพระที่นั่ง คือรถที่มีล้อใหญ่ ๆ 4 ล้อ ตัวเก๋งเป็นประทุนที่ปิดเปิดได้ และปิดเปิดไม่ได้ รถม้าพระที่นั่งแต่ละคันอาจเทียมด้วยม้าตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป จนถึง 4 ตัวและ 8 ตัวเป็นจํานวนสูงสุด รถม้าเริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันทั่วไป แต่มาเฟื่องฟูจริงๆ ก็ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยผู้ทรงมีคุณูปการใหญ่หลวงต่อประเทศ และปวงชนชาวไทย ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับเรื่องรถยนต์เป็นอย่างมากและโปรดเกล้าฯ ให้มีการตัดถนนในกรุงเทพฯ รวมถึงถนนรอบนอกพระนครหลายสาย เพื่อความสะดวกในการสัญจรไปมาของประชาชน จนต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีหลักฐานบ่งชี้ชัดเจนเรื่องหนึ่ง

ว่าด้วยรถม้าซึ่งอังกฤษส่งมาถวายแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีใครบอกได้ว่า ได้ต่อเป็นรูปร่างเสร็จสมบูรณ์มาจากอังกฤษเลยทีเดียว หรือว่าส่งเป็นชิ้นส่วนเข้ามาประกอบขึ้นในเมืองไทยทีหลัง แต่รถม้าคันอื่นๆ นั้น เชื่อกันว่าน่าจะต่อขึ้นเองในเมืองไทย ตามรูปทรงที่เป็นรูปแบบอย่างรถม้าในอังกฤษ รถม้าคันดังกล่าว ได้ใช้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7

และเป็นคันเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงใช้เป็นรถม้าพระที่นั่งในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก อีกทั้งยังเป็นคันเดียวกับที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาล ที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงใช้เป็นรถม้าพระที่นั่งใน พระราชพิธีเปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกอีกด้วย

(ขอขอบคุณข้อมูลประกอบข่าว จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม วางแผงฉบับตุลาคม 2529 เขียนโดย ประพันธ์ ผลเสวก)

ประจำการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2495 – 2500

ประจำการตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2495 – 2500